ตารางเปรียบเทียบพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พ.ศ. 2482 และร่างพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์  (ฉบับที่ ..)  พ.ศ. ....  ที่แก้ไข

พระราชบัญญัติฯ  ปัจจุบัน

ร่างพระราชบัญญัติฯ  ที่แก้ไข

หลักการและเหตุผล

(ครุฑ)

พระราชบัญญัติ

การชลประทานราษฎร์  พุทธศักราช 2482

  

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480)

อาทิตย์ทิพอาภา

พล.. เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน

ตราไว้ ณ วันที่ 17 ตุลาคม  พุทธศักราช 2482

เป็นปีที่  6  ในรัชการปัจจุบัน

 

(ร่าง)

พระราชบัญญัติ

การชลประทานราษฎร์  (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

 

………………………………………………

……………….………………………………..

………………..……………………………….

……………….………………………………

 

         โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรจัดการควบคุมการชลประทานราษฎร์ เพื่อคุ้มครองและรักษาประโยชน์ของราษฎร

          จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

 

 

 

             โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการชลประทานราษฎร์

 

                ...............................................................................

……………………………………………………………

 

 

         มาตรา 1  พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า                          “ พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พุทธศักราช 2482 ”

 

          มาตรา 1  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า  “ พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ (ฉบับที่ ..) .. …. ”

 

         มาตรา 2  ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศ       ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

          มาตรา 2       พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วัน  ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

ปรับถ้อยคำให้เป็นปัจจุบัน

         มาตรา 3  ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการเหมืองฝายและพนัง พุทธศักราช 2477 พระราชบัญญัติควบคุมการเหมืองฝายและพนังแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2478          และพระราชบัญญัติควบคุมการเหมืองฝายและพนัง  (ฉบับที่ 3)  พุทธศักราช 2480 กับบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นๆ      ซึ่งบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งมีข้อความขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้

 

         ……………………. ………………………………..

…………………………………………………………….

…………………………………………………………….

…………………………………………………………….

…………………………………………………………….

…………………………………………………………….

…………………………………………………………….     

 

ไม่มีการแก้ไข

         มาตรา 4  ในพระราชบัญญัตินี้

         “ การชลประทาน ”  หมายความว่า  กิจการที่บุคคลได้จัดทำขึ้น เพื่อส่งน้ำจากทางน้ำหรือแหล่งน้ำใดๆ  เป็นต้นว่าแม่น้ำ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ไปใช้ในการเพาะปลูก และให้หมายถึงกิจการที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการเสียหายแก่การเพาะปลูกอันเกี่ยวกับน้ำ

 

 

         “ การชลประทานส่วนบุคคล ”  หมายความว่า            การชลประทานที่บุคคลคนเดียวหรือหลายคนได้จัดทำขึ้น เพื่อประโยชน์แก่การเพาะปลูกของบุคคลนั้นๆ โดยเฉพาะ

         “ การชลประทานส่วนราษฎร ” หมายความว่า                     การชลประทานที่ราษฎรได้ร่วมกันจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การเพาะปลูกของราษฎรในท้องที่

         “ การชลประทานส่วนการค้า ” หมายความว่า                     การชลประทานที่บุคคลได้จัดทำขึ้นเพื่อค่าตอบแทนจาก               ผู้ที่ต้องการใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกจากการชลประทานนั้น

         “ เขตการชลประทาน ”  หมายความว่า  เขตที่ดิน          ซึ่งได้รับประโยชน์จากการชลประทานนั้น

         “ เครื่องอุปกรณ์การชลประทาน ”  หมายความว่าสิ่งของใดๆ ที่ใช้ประกอบสำหรับทำการชลประทาน

          “ เจ้าพนักงาน ”  หมายความว่า  คณะกรมการจังหวัด ข้าหลวงประจำจังหวัด คณะกรมการอำเภอ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าหรือผู้ช่วยหัวหน้าการชลประทาน และเจ้าพนักงานผู้ควบคุมการชลประทาน

 

 

         มาตรา  4  ในพระราชบัญญัตินี้

         “ การชลประทาน ”  หมายความว่า  กิจการที่บุคคลได้จัดทำขึ้น เพื่อส่งน้ำจากทางน้ำหรือแหล่งน้ำใดๆ  เป็นต้นว่าแม่น้ำ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ไปใช้ในการ    เกษตรกรรม และให้หมายถึงกิจการที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการเสียหายแก่การเกษตรกรรมอันเกี่ยวกับน้ำ  

  

 

         “ การชลประทานส่วนบุคคล ”  หมายความว่า                      การชลประทานที่บุคคลคนเดียว หรือหลายคนได้จัดทำขึ้น เพื่อประโยชน์แก่การเกษตรกรรมของบุคคลนั้นๆ โดยเฉพาะ

         “ การชลประทานส่วนราษฎร ” หมายความว่า                      การชลประทานที่ราษฎรได้ร่วมกันจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การเกษตรกรรมของราษฎรในท้องที่

         “ การชลประทานส่วนการค้า ” หมายความว่า              การชลประทานที่บุคคลได้จัดทำขึ้นเพื่อค่าตอบแทนจาก         ผู้ที่ต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรมจากการชลประทานนั้น

         ……………………………………………………......

………………………………………………………………

         ……………………………………………………

………………………………………………………………

         “ เจ้าพนักงาน ”  หมายความว่า  คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด  ผู้ว่าราชการจังหวัด  นายอำเภอ  หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  หัวหน้าหรือผู้ช่วยหัวหน้าการชลประทาน        เจ้าพนักงานผู้ควบคุมการชลประทาน  และเจ้าพนักงานท้องถิ่น

 

       

        

 

 

 

 

       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

“  คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด  ” หมายความว่า  คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นและมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้กำหนด

     

         “ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ”  หมายความว่า  เทศบาล  องค์การบริหารส่วนตำบล  องค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง

       

        “ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ”  หมายความว่า  นายกเทศมนตรี  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด  และผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง 

         “ เกษตรกรรม ”  หมายความว่า  การทำนา  ทำไร่  ทำสวน

เลี้ยงสัตว์  การประมง และกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด

        

         มาตรา 4  ทวิ  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้             กับให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ควบคุมการชลประทาน เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

         กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 

 

 

ได้แก้ไขจาก “ การเพาะปลูก ” มาเป็น “ การเกษตรกรรม ” เพื่อให้มีความคุ้มครองตามกฎหมายโดยไม่มุ่งคุ้มครอง        ในเรื่องการเพาะปลูกอย่างเดียว

 

 

 

 

แก้ไขจาก “ การเพาะปลูก ” เป็น “ การเกษตรกรรม ” เพื่อให้สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไข    

 

แก้ไขจาก “ การเพาะปลูก ” เป็น “ การเกษตรกรรม ” เพื่อให้สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไข     

 

แก้ไขจาก “ การเพาะปลูก ” เป็น “ การเกษตรกรรม ”      เพื่อให้สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไข            

 

ไม่มีการแก้ไข

 

ไม่มีการแก้ไข

 

-ได้แก้ไขชื่อจาก “ คณะกรมการจังหวัด ” เป็น                               “ คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด ” และกำหนดองค์ประกอบคณะกรรมการให้เหมาะสม  เนื่องจากชื่อ         และองค์ประกอบของคณะกรมการจังหวัดถูกกำหนดขึ้น   ตามความในมาตรา 53 วรรคสองของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม

โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน                

 

(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2546  ซึ่งมีองค์ประกอบคณะกรรมการ   มากเกินความจำเป็น

- เปลี่ยนชื่อจาก “ ข้าหลวงประจำจังหวัด ” เป็น “ ผู้ว่าราชการจังหวัด ” ให้เป็นปัจจุบัน

-ได้เพิ่มคำว่า  “ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ”เพื่อให้สอดรับกับกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่       ที่ยังไม่ได้ยกเลิกหลักเกณฑ์การจัดตั้งกิ่งอำเภอ   

- ตัดคำว่า  “ คณะกรมการอำเภอ ” เพราะพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534  มาตรา 62         ได้กำหนดให้บรรดาอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการ       ของกรมการอำเภอหรือนายอำเภอ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้กรมการอำเภอและนายอำเภอมีอยู่ให้โอนไปเป็นอำนาจ    และหน้าที่ของนายอำเภอ ดังนั้นจึงต้องยกเลิกชื่อ              คณะกรมการอำเภอ       

- กำหนดเพิ่มเติมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ เพราะ ร่างกฎหมายที่แก้ไขได้กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการชลประทานราษฎร์ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เพิ่มบทนิยามคำว่า  “  คณะกรรมการชลประทานราษฎร์      จังหวัด  ”  เพราะได้แก้ไขชื่อจาก “ คณะกรมการจังหวัด ”           เป็น “ คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด  ”

 

เพิ่มบทนิยามคำว่า  “ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ”            โดยให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่ง          ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  มาตรา 283

เพิ่มบทนิยามคำว่า “ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ” เพื่อให้ครอบคลุมถึงผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น               ให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการชลประทานราษฎร์              ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น    

เพิ่มบทนิยามคำว่า  “ เกษตรกรรม ”  เพื่อให้ครอบคลุมกิจการด้านการเกษตรกรรมอย่างกว้างขวางขึ้นโดยไม่มุ่งคุ้มครองในเรื่องการเพาะปลูกอย่างเดียว นอกจากนี้ยังให้อำนาจรัฐมนตรีประกาศกำหนดกิจการอื่นได้ด้วย

ได้ยกเลิกหมวด 5  มาตรา 43  และได้นำมาปรับแก้เป็นมาตรา  4 ทวิ  เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบร่างกฎหมาย              ในปัจจุบัน  ทั้งได้แก้ไขชื่อกระทรวงให้เป็นปัจจุบัน

         มาตรา 5  เพื่อประโยชน์แก่การแบ่งปันน้ำในยามขาดแคลน หรือเพื่อความปลอดภัยหรือผาสุกของสาธารณชน    ให้คณะกรมการจังหวัดมีอำนาจสั่งปิดหรืองดใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของการชลประทานทุกประเภทไว้ได้ชั่วคราว     หรือสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อชักน้ำไปใช้ในการนั้นได้

       

         ในกรณีที่เกี่ยวกับการแบ่งปันน้ำในยามขาดแคลน 

ให้ผู้ได้รับประโยชน์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนั้น

         มาตรา 5  เพื่อประโยชน์แก่การแบ่งปันน้ำในยาม         ขาดแคลน หรือเพื่อความปลอดภัยหรือผาสุกของสาธารณชน      ให้คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัดมีอำนาจสั่งปิดหรืองดใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของการชลประทานทุกประเภท   ไว้ได้ชั่วคราวหรือสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อชักน้ำไปใช้        ในการนั้นได้

         ......................................................................................

...............................................................................................       

 

แก้ไขชื่อจาก  “ คณะกรมการจังหวัด ”  เป็น                                        “ คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด ” เพื่อให้สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไข

 

 

 

ไม่มีการแก้ไข

 

         มาตรา 5 ทวิ  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง  เรียกว่า            “ คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด ”  ประกอบด้วย  ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นรองประธานกรรมการ อัยการจังหวัด  เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด  เกษตรและสหกรณ์จังหวัด 

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด  นายอำเภอ       หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ                          ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำภาคในพื้นที่  เป็นกรรมการ                   และผู้อำนวยการโครงการชลประทานประจำจังหวัด          เป็นกรรมการและเลขานุการ  รวมทั้งทำหน้าที่เป็น                      นายทะเบียน 

 

 

กำหนดองค์ประกอบคณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัดให้มีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่โดยตรง    ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรมการจังหวัด

    

         มาตรา 6  ห้ามมิให้ผู้ใดใช้น้ำจากการชลประทาน     ส่วนบุคคลหรือการชลประทานส่วนราษฎรเกินความจำเป็น หรือเอาน้ำไปทิ้งเสียโดยเปล่าประโยชน์ในเมื่อเจ้าพนักงานได้สั่งห้าม

 

         …………………………………………………..........

……………………………………………………………… ………………………………………………………………

..……………………………………………………………. 

ไม่มีการแก้ไข

 

 

         มาตรา  6  ทวิ  ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้ช่วยเหลือ   นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ          ในการปฏิบัติตามหน้าที่เฉพาะในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบ

- กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ชัดเจนเหมาะสมเพื่อความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง                         ส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2)

  

หมวดที่ 1

การชลประทานส่วนบุคคล

 

         มาตรา 7  ผู้ใดจะทำการชลประทานส่วนบุคคล    จะต้องขอและได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน เว้นแต่จะได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่เนื้อที่ไม่เกินสองร้อยไร่ หรือเป็นการกระทำชั่วครั้งคราวซึ่งมิได้มีการก่อสร้างไว้เป็นประจำ แต่ทั้งนี้ต้องไม่กีดขวางทางน้ำสาธารณะหรือทำให้เสียหายแก่บุคคลอื่น

 

 

         

         การขออนุญาตนั้น ให้ยื่นคำขอต่อคณะกรมการอำเภอเจ้าของท้องที่ และให้คณะกรมการอำเภอปิดประกาศโฆษณาไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและในตำบลติดต่อกับตำบลที่จะทำการชลประทานนั้นเป็นเวลาสิบห้าวัน ผู้ใดเห็นว่าตนจะได้รับความเสียหายจากการชลประทานนี้ ให้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อคณะกรมการอำเภอภายในระยะเวลาดังกล่าวแล้ว เฉพาะในกรณีฉุกเฉินให้พิจารณาอนุญาตไปก่อนได้

        

       

 

         การอนุญาตตามความในวรรคต้น

         (1) ถ้าทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่เนื้อที่ไม่เกินห้าร้อยไร่

และอยู่ในท้องที่อำเภอเดียวกัน ให้คณะกรมการอำเภอนั้น  เป็นผู้พิจารณาอนุญาต  แล้วรายงานให้จังหวัดทราบ และให้จังหวัดรายงานไปยังกระทรวงเกษตราธิการ

 

                   

        

         (2)  ถ้าทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่เนื้อที่ไม่เกินกว่า        หนึ่งพันไร่และอยู่ในท้องที่จังหวัดเดียวกัน ให้คณะกรมการจังหวัดนั้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตแล้วรายงานไปยังกระทรวงเกษตราธิการ

        

 

        

 

         (3)  ถ้าทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่เนื้อที่เกินกว่าหนึ่งพันไร่ หรือเนื้อที่คาบเกี่ยวต่างจังหวัดกัน ให้กระทรวง

เกษตราธิการเป็นผู้พิจารณาอนุญาต

         เจ้าของการชลประทานส่วนบุคคลที่ทำอยู่แล้วก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้จะต้องขออนุญาตภายในกำหนดเวลาสิบสองเดือนนับแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้

หมวดที่ 1

การชลประทานส่วนบุคคล

 

         มาตรา 7  ผู้ใดจะทำการชลประทานส่วนบุคคล     จะต้องขอและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเสียก่อน เว้นแต่จะได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่เนื้อที่ไม่เกินยี่สิบไร่ หรือเป็นการกระทำชั่วครั้งคราวซึ่งมิได้มีการก่อสร้างไว้เป็นประจำ แต่ทั้งนี้ต้องไม่กีดขวางทางน้ำสาธารณะหรือทำให้เสียหายแก่บุคคลอื่น

 

 

        

         การขออนุญาตนั้น ให้ยื่นคำขอต่อนายอำเภอ              หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ และให้ปิดประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ และที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องที่จะทำการชลประทานนั้นเป็นเวลาสิบห้าวัน ผู้ใดเห็นว่าตนจะได้รับความเสียหายจากการชลประทานนี้ ให้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อนายอำเภอ                หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอภายใน       ระยะเวลาดังกล่าวแล้ว เฉพาะในกรณีฉุกเฉินให้พิจารณาอนุญาตไปก่อนได้

       

         การอนุญาตตามความในวรรคหนึ่ง

         (1)  ถ้าทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่เนื้อที่ไม่เกินห้าร้อยไร่

และอยู่ในท้องที่อำเภอเดียวกันให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอ   ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นผู้พิจารณาอนุญาต              ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด                     กำหนด  แล้วรายงานให้จังหวัดทราบ  และให้จังหวัดรายงานไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

        

         (2)  ถ้าทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่เนื้อที่ไม่เกินกว่า            หนึ่งพันไร่และอยู่ในท้องที่จังหวัดเดียวกัน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด  เป็นผู้พิจารณาอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัดกำหนด แล้วรายงานไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

      

 

         

         (3)  ถ้าทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่เนื้อที่เกินกว่าหนึ่งพันไร่ หรือเนื้อที่คาบเกี่ยวต่างจังหวัดกัน ให้กระทรวง

เกษตรและสหกรณ์ป็นผู้พิจารณาอนุญาต

         .....................................................................................

..............................................................................................

..............................................................................................

 

 

 

-ได้แก้ไขคำว่า  “ พนักงานเจ้าหน้าที่ ”  เป็น  “ เจ้าพนักงาน ”เพื่อความชัดเจนในทางปฏิบัติว่า  มุ่งหมายถึงเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้

-ได้กำหนดเนื้อที่จาก  “ไม่เกินสองร้อยไร่ ” เป็น “ไม่เกินยี่สิบไร่ ” เพราะปัจจุบันการถือครองที่ดินเปลี่ยนแปลง                ไปจากเดิม และประชาชนเพิ่มจำนวนมากขึ้น  ทั้งมีการ                     ใช้น้ำเพิ่มมากด้วย ในขณะที่แหล่งน้ำต้นทุนมีปริมาณน้ำ       ไม่เพียงพอ   

 

-แก้ไขชื่อจาก “ คณะกรมการอำเภอ ”  เป็น “ นายอำเภอ ”   เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534   มาตรา 62 ได้กำหนดให้บรรดาอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอหรือนายอำเภอ   ซึ่งกฎหมายกำหนดให้กรมการอำเภอและนายอำเภอ               มีอยู่ให้โอนไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอ          ดังนั้นจึงต้องยกเลิกชื่อคณะกรมการอำเภอ และใช้คำว่านายอำเภอแทน

-ได้เพิ่มความ  เพื่อให้สอดรับกับร่างที่แก้ไข

 

-ปรับปรุงถ้อยคำให้เป็นปัจจุบัน

-ได้เพิ่มคำว่า  “ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ”  เพื่อให้สอดรับกับร่างที่แก้ไข

-การพิจารณาอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัดกำหนด เพื่อความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้

-แก้ไขจาก “ กระทรวงเกษตราธิการ  ” เป็น                                 “ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ”  เพื่อให้เป็นปัจจุบัน

-เปลี่ยนผู้มีอำนาจอนุญาตจาก “ คณะกรมการจังหวัด ”                        เป็น “ ผู้ว่าราชการจังหวัด ” เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการลดขั้นตอนการบริหารราชการ  

-การพิจารณาอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัดกำหนด เพื่อความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้

-แก้ไขจาก  “ กระทรวงเกษตราธิการ  ”   เป็น                             “ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ” เพื่อเป็นปัจจุบัน

แก้ไขชื่อให้เป็นปัจจุบัน      

 

 

ไม่มีการแก้ไข

 

 

         มาตรา 8  ผู้ขออนุญาตทำการชลประทานตามความ    ในมาตรา 7 จะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

         (1)  เสนอแผนที่สังเขปซึ่งแสดงรายการ ต่อไปนี้

               ()  จำนวนเนื้อที่เพาะปลูกที่มีอยู่ในเวลาที่ขออนุญาต

               ()  จำนวนเนื้อที่ซึ่งจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นเนื่องจากการชลประทานนั้น

               (ค)  แนวทางน้ำ แหล่งน้ำ หมู่บ้าน และสถานที่ถาวรต่างๆ เท่าที่มีอยู่ในเขตนั้น

            

               ()  แนวทางและจุดที่ตั้งของการชลประทานที่ขอทำขึ้น

         (2)  เสนอรายละเอียด คือ

               ()  สภาพของลำน้ำที่จะใช้ทำการชลประทานนั้นในฤดูแล้งมีน้ำเหลืออยู่เพียงใด  ในฤดูน้ำมีน้ำตามปกติเท่าใด  และระดับน้ำสูงที่สุดเท่าใด  โดยคิดจากระดับท้องน้ำขึ้นมา

               (ข)   ความกว้าง ลึก ของลำน้ำเดิม และขนาดส่วนสัดของการชลประทานที่ขอทำขึ้น

               ()   จำนวนเจ้าของนาภายในเขตที่จะได้รับน้ำจากการชลประทานนั้น รวมทั้งที่มีอยู่เดิมและที่จะมีขึ้นใหม่

         (3)  ให้ชี้แจงว่า  การชลประทานรายอื่นได้มีอยู่ก่อนแล้วในลำน้ำนั้นหรือไม่  ถ้ามีให้แจ้งเขตและระยะที่ตั้งถัดไปทางเหนือน้ำ 1 ราย  ทางใต้น้ำ 1 ราย

         มาตรา 8  ให้ผู้ที่จะทำการชลประทานส่วนบุคคล       ตามมาตรา 7  ยื่นแบบขออนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด 

 

รายละเอียดของผู้ขออนุญาตที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเดิม เป็นเพียงรายละเอียดไม่ควรกำหนดไว้ในกฎหมาย หากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดตามสภาพการณ์ปัจจุบัน สามารถแก้ไขได้ง่าย รวดเร็ว โดยกำหนดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์           ในแบบขออนุญาต เพื่อผู้มีอำนาจอนุญาตจะได้ถือเป็นแบบฟอร์มปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน

 

         มาตรา 9  ในกรณีที่คณะกรมการจังหวัดเห็นว่า                          การชลประทานส่วนบุคคลรายใดมีปริมาณน้ำเกินความจำเป็นแล้ว ก็ให้มีอำนาจสั่งเฉลี่ยน้ำให้แก่ที่ดินที่ใกล้เคียง    ได้เป็นครั้งคราว แต่ผู้ที่ได้รับประโยชน์จะต้องช่วยเหลือเจ้าของหรือผู้ควบคุมตามสมควร

         การชลประทานส่วนบุคคลรายใดที่ได้ทำมาแล้ว         ไม่น้อยกว่าสิบปี  ถ้าคณะกรมการจังหวัดเห็นเป็นการจำเป็น         ที่จะขยายเขตการชลประทานให้กว้างขวางออกไป                                 เพื่อประโยชน์ของราษฎรหมู่มาก ก็ให้มีอำนาจสั่งเปลี่ยนประเภทการชลประทานส่วนบุคคลรายนั้นเป็นการชลประทานส่วนราษฎรได้  โดยให้ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการชลประทานนั้นร่วมกันออกเงินค่าทำขวัญ                       ตามส่วนมากและน้อย

         ถ้าหากไม่ตกลงกันในเรื่องเงินค่าทำขวัญ                              คณะกรมการจังหวัดและผู้ที่จะได้รับประโยชน์มีสิทธิ                     ที่จะขอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการได้

         ถ้าจะต้องตั้งอนุญาโตตุลาการตามความในวรรคก่อน ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับโดยอนุโลม

         มาตรา 9  ในกรณีที่เจ้าพนักงานผู้อนุญาตตามมาตรา  7 วรรคสาม  เห็นว่าการชลประทานส่วนบุคคลรายใดมีปริมาณน้ำเกินความจำเป็นแล้ว ก็ให้มีอำนาจสั่งเฉลี่ยน้ำ ให้แก่ที่ดิน                   ที่ใกล้เคียงได้เป็นครั้งคราว แต่ผู้ที่ได้รับประโยชน์จะต้องช่วยเหลือเจ้าของหรือผู้ควบคุมตามสมควร

         การชลประทานส่วนบุคคลรายใดที่ได้ทำมาแล้ว           ไม่น้อยกว่าสิบปี  ถ้าคณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด                    เห็นเป็นการจำเป็นที่จะขยายเขตการชลประทานให้กว้างขวางออกไป เพื่อประโยชน์ของราษฎรหมู่มาก ก็ให้มีอำนาจสั่งเปลี่ยนประเภทการชลประทานส่วนบุคคลรายนั้นเป็นการชลประทานส่วนราษฎรได้  โดยให้ผู้ที่จะได้รับประโยชน์      จากการชลประทานนั้นร่วมกันออกเงินค่าชดเชยเฉลี่ยตามสัดส่วน

        หากตกลงเรื่องค่าชดเชยกันไม่ได้  ให้คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด  และผู้ที่จะได้รับประโยชน์มีสิทธิที่จะขอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการได้  โดยให้นำกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

เปลี่ยนผู้มีอำนาจเฉลี่ยน้ำจาก “ คณะกรมการจังหวัด ”             เป็น “ เจ้าพนักงานผู้อนุญาตตามมาตรา 7 วรรคสาม  ”                       เพื่อให้สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไขมาตรา 7

 

 

ได้แก้ไขชื่อจาก “ คณะกรมการจังหวัด ” เป็น                                “ คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด ” เพื่อให้          สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไข และได้ปรับปรุงถ้อยคำ              “ค่าทำขวัญตามส่วนมากและน้อย ” เป็น               

“ค่าชดเชยเฉลี่ยตามสัดส่วน ” เพื่อให้เป็นถ้อยคำปัจจุบัน

 

 

 

-ปรับปรุงวรรคสามและวรรคสี่โดยรวมเป็นวรรคเดียวกันคือเป็นวรรคสามปัจจุบัน เพื่อให้กระชับ และปรับถ้อยคำให้เป็นปัจจุบันจากคำว่า  “ เงินค่าทำขวัญ ”  เป็น  “ ค่าชดเชย ” -ได้แก้ไขชื่อจาก “ คณะกรมการจังหวัด ” เป็น                                “ คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด ” เพื่อให้สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไข

- การตั้งอนุญาโตตุลาการได้นำกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับแทน กฎหมายวิธีพิจารณา           ความแพ่ง เพื่อให้เป็นปัจจุบัน  

         มาตรา 10  เจ้าของการชลประทานส่วนบุคคล จะต้องปฏิบัติการมิให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของบุคคลอื่น และจะต้องปล่อยน้ำให้ที่ดินที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งเคยได้รับน้ำจากการชลประทานนั้นมาแต่ก่อนได้ใช้สอยตามสมควร      ถ้าเจ้าของหรือผู้ควบคุมกระทำหรืองดเว้นกระทำการ    

อย่างหนึ่งอย่างใดอันอาจจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือสิ่งสาธารณประโยชน์ ให้คณะกรมการอำเภอมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามที่เห็นสมควร   ถ้าพ้นกำหนดเวลาเจ้าของหรือผู้ควบคุม

ไม่ปฏิบัติตาม ให้คณะกรมการอำเภอมีอำนาจเข้าดำเนินการเพื่อป้องกันความเสียหายได้ทันที

         มาตรา 10  เจ้าของการชลประทานส่วนบุคคล จะต้องปฏิบัติการมิให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของบุคคลอื่น และจะต้องปล่อยน้ำให้ที่ดินที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งเคยได้รับน้ำ    จากการชลประทานนั้นมาแต่ก่อนได้ใช้สอยตามสมควร       ถ้าเจ้าของหรือผู้ควบคุมกระทำหรืองดเว้นกระทำการ                 

อย่างหนึ่งอย่างใดอันอาจจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือสิ่งสาธารณประโยชน์ ให้เจ้าพนักงานผู้อนุญาต                         ตามมาตรา 7 วรรคสาม  มีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมกระทำ อย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามที่เห็นสมควร

หากพ้นกำหนดเวลาเจ้าของหรือผู้ควบคุมไม่ปฏิบัติตาม ให้ เจ้าพนักงานดังกล่าว  มีอำนาจเข้าดำเนินการเพื่อป้องกัน     ความเสียหายได้ทันที

 

ได้แก้ไขผู้มีอำนาจสั่งจาก “ คณะกรมการอำเภอ ”             เป็น “ เจ้าพนักงานผู้อนุญาตตามมาตรา 7 วรรคสาม  ”                           เพื่อให้สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไข

 

 

 

 

 

 

 

         มาตรา 10 ทวิ  ในการจัดทำการชลประทานส่วนบุคคลตามหมวดนี้ ไม่ว่าจะต้องขออนุญาตตามมาตรา 7 หรือไม่     ก็ตาม ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้จัดทำการชลประทานส่วนบุคคลดังกล่าวอาจทำทางน้ำผ่านที่ดินนั้นได้ เมื่อขอ และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แต่ต้องใช้       ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินดังกล่าว

         การขออนุญาตตามวรรคหนึ่งให้ผู้ขออนุญาตยื่น                  คำขอต่อนายอำเภอเจ้าของท้องที่และจะต้องปฏิบัติตาม                      มาตรา 8 (1)   ด้วย และให้นายอำเภอแจ้งให้เจ้าของ                         และผู้ครอบครองที่ดินที่จะทำทางน้ำผ่านทราบ โดยจดหมายลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาของเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดิน พร้อมทั้งปิดประกาศ ณ  สำนักงานที่ดินจังหวัด ที่ว่าการเขต ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนันในท้องที่ และที่ดินที่จะทำทางน้ำผ่านล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน  ผู้ใดเห็นว่าตน           จะได้รับความเสียหายจากการทำทางน้ำผ่านที่ดิน ให้ยื่น                          คำร้องคัดค้านต่อนายอำเภอภายในระยะเวลาดังกล่าวแล้วเฉพาะในกรณีฉุกเฉินให้พิจารณาอนุญาตไปก่อนได้

 

         

 

        

         ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตตามคำขอ ให้ปิดประกาศและแจ้งการอนุญาตพร้อมทั้งรายละเอียดให้เจ้าของ    และผู้ครอบครองที่ดินทราบโดยวิธีการดังระบุไว้ในวรรคสองล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

         ให้นำมาตรา 7 วรรคสามมาใช้บังคับแก่การอนุญาตตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม  ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมตามหลักชลประทานและจะต้องให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินน้อยที่สุด

         จำนวนเงินค่าทดแทนนั้นไม่อาจตกลงกันได้                          ผู้ขออนุญาตอาจร้องขอต่อคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ  ประธานสภาจังหวัดเป็นรองประธานกรรมการ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด  เกษตรจังหวัด  ผู้แทนกรมชลประทาน และนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่เป็นกรรมการ  เป็นผู้กำหนดโดยให้คำนึงถึงสภาพของที่ดินตลอดจนประโยชน์ที่ผู้ขออนุญาตจะได้รับและความเสียหายที่จะเกิดแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินอื่นด้วย

         เมื่อคณะกรรมการได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนตามวรรคห้าแล้วเจ้าของที่ดินไม่ยอมรับเงินค่าตอบแทน และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปิดประกาศตามวรรคสาม           โดยอนุโลม และได้วางเงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อศาลแล้ว             ผู้ขออนุญาตมีสิทธิเข้าดำเนินการได้

          

        

       

         การที่เจ้าของที่ดินไม่ยินยอมตกลงในจำนวนเงิน               ค่าทดแทนที่ดินตามที่คณะกรรมการกำหนดในวรรคห้า 

รับหรือไม่รับเงินค่าทดแทนที่ได้วางไว้ต่อศาลไม่ตัดสิทธิเจ้าของที่ดินจะฟ้องเรียกเงินส่วนที่ตนเห็นว่าควรจะได้รับภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ได้วางเงินต่อศาล 

ในกรณีศาลพิพากษาให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น

ให้เจ้าของที่ดินได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี   ในเงินส่วนที่เพิ่มขึ้นนับจากวันที่วางเงินค่าทดแทนต่อศาล

         การที่เจ้าของที่ดินฟ้องคดียังศาลตามวรรคเจ็ด ไม่เป็นเหตุให้การครอบครองการใช้ที่ดินของผู้ขออนุญาตสะดุดหยุดลง

         

 

         มาตรา 10 ตรี  ทางน้ำตามมาตรา 10 ทวิ ต้องใช้เพื่อประโยชน์ของที่ดินที่ได้รับน้ำจากทางน้ำนั้น ถ้าต่อมาที่ดิน      ที่ได้รับน้ำนั้นหมดความจำเป็นที่จะใช้น้ำจากทางน้ำนั้น      เพื่อประกอบการเพาะปลูกอีกต่อไปเมื่อเจ้าของ หรือผู้ครอบครองที่ดินที่มีทางน้ำผ่านร้องขอและได้รับอนุญาต       จากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ให้สิทธิของเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ได้รับน้ำจากทางน้ำนั้นเป็นอันสิ้นสุดลง     

        ในระหว่างที่ทางน้ำจะต้องใช้เพื่อประโยชน์ของที่ดิน   ที่ได้รับน้ำเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ได้รับน้ำมีสิทธิทำ

การทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ทางน้ำนั้น โดยให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่มี        ทางน้ำผ่านน้อยที่สุดตามพฤติการณ์

หมวด  2

การชลประทานส่วนราษฎร

         มาตรา 11  แม่น้ำ ลำธาร ห้วย หนอง  คลอง บึง บาง หรือทางน้ำ แหล่งน้ำใดๆ นั้น เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัดเห็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน ก็ให้มีอำนาจประกาศกำหนดเขตไว้ได้ และภายในเขตที่กำหนด    ไว้นั้น ข้าหลวงประจำจังหวัดมีอำนาจที่จะสั่งห้ามมิให้กระทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางแก่การชลประทาน

 

         มาตรา 10 ทวิ  ในการจัดทำการชลประทานส่วนบุคคลตามหมวดนี้ ไม่ว่าจะต้องขออนุญาตตามมาตรา 7 หรือไม่        ก็ตาม ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่ดิน    อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้จัดทำการชลประทานส่วนบุคคลดังกล่าวอาจทำทางน้ำผ่านที่ดินนั้นได้  เมื่อขอและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานแล้ว แต่ต้องใช้ค่าทดแทน   ให้แก่เจ้าของที่ดินดังกล่าว

         การขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคำขอต่อนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอและจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด ด้วย และให้นายอำเภอ                   หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ แจ้งให้เจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินที่จะทำทางน้ำผ่านทราบ โดยจดหมายลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนา  พร้อมทั้งปิดประกาศ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด   หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา  ที่ว่าการเขต  ที่ว่าการอำเภอ  ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ทำการกำนันในท้องที่และที่ดินที่จะทำทางน้ำผ่านล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน  ผู้ใดเห็นว่าตนจะได้รับความเสียหายจากการทำทางน้ำผ่านที่ดิน ให้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อนายอำเภอ                  หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอภายใน ระยะเวลาดังกล่าวแล้วเฉพาะในกรณีฉุกเฉินให้พิจารณาอนุญาตไปก่อนได้

         ในกรณีที่เจ้าพนักงานอนุญาตตามคำขอ ให้ปิดประกาศและแจ้งการอนุญาตพร้อมทั้งรายละเอียดให้เจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินทราบโดยวิธีการดังระบุไว้ในวรรคสองล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

         ......................................................................................

.................................................................................................

.................................................................................................

..................................................................................................                                    

         จำนวนเงินค่าทดแทนนั้นไม่อาจตกลงกันได้                                 ผู้ขออนุญาตอาจร้องขอต่อคณะกรรมการชลประทาน               ราษฎร์จังหวัด ให้เป็นผู้กำหนดโดยคำนึงถึงสภาพของที่ดินตลอดจนประโยชน์ที่ผู้ขออนุญาตจะได้รับและความเสียหาย  ที่จะเกิดแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินอื่นด้วย

 

 

 

 

         เมื่อคณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด                ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนตามวรรคห้าแล้วเจ้าของ

ที่ดินไม่ยอมรับเงินค่าทดแทน และเจ้าพนักงานได้ปิดประกาศ ตามวรรคสามโดยอนุโลม และได้วางเงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อศาลแล้ว  ผู้ขออนุญาตมีสิทธิเข้าดำเนินการได้

         

        

        

         การที่เจ้าของที่ดินไม่ยินยอมตกลงในจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินตามที่คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด กำหนดในวรรคห้า  รับหรือไม่รับเงินค่าทดแทนที่ได้วางไว้ต่อศาลไม่ตัดสิทธิเจ้าของที่ดินจะฟ้องเรียกเงินส่วนที่ตนเห็นว่าควรจะได้รับภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ได้วางเงินต่อศาล  ในกรณีศาลพิพากษาให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้เจ้าของที่ดินได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินส่วนที่เพิ่มขึ้นนับจากวันที่วางเงินค่าทดแทนต่อศาล

         .......................................................................................

................................................................................................

.................................................................................................

        

 

         มาตรา 10 ตรี  ทางน้ำตามมาตรา 10 ทวิ ต้องใช้เพื่อประโยชน์ของที่ดินที่ได้รับน้ำจากทางน้ำนั้น ถ้าต่อมาที่ดิน         ที่ได้รับน้ำนั้นหมดความจำเป็นที่จะใช้น้ำจากทางน้ำนั้น        เพื่อประกอบการเกษตรกรรมอีกต่อไปเมื่อเจ้าของ หรือผู้ครอบครองที่ดินที่มีทางน้ำผ่านร้องขอและได้รับอนุญาต       จากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ให้สิทธิของเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ได้รับน้ำจากทางน้ำนั้นเป็นอันสิ้นสุดลง     

        ................................................................................. .......       

................................................................................................

.................................................................................................

.................................................................................................

..................................................................................................

หมวด  2

การชลประทานส่วนราษฎร

         มาตรา 11  แม่น้ำ ลำธาร ห้วย หนอง  คลอง บึง บาง     หรือทางน้ำ แหล่งน้ำใดๆ นั้น เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด                      เห็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน ก็ให้มีอำนาจประกาศกำหนดเขตไว้ได้ และภายในเขตที่กำหนดไว้นั้น      ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจที่จะสั่งห้ามมิให้กระทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางแก่การชลประทาน        

ได้แก้ไขคำว่า  “ พนักงานเจ้าหน้าที่ ”  เป็น  “ เจ้าพนักงาน ”เพื่อความชัดเจนในทางปฏิบัติว่า  มุ่งหมายถึงเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้

 

 

 

 

-ปรับปรุงถ้อยคำโดยตัดคำว่า “ เจ้าของ ” และ                               “ ผู้ครอบครองที่ดิน ” ออก เพื่อความเหมาะสม

-ได้เพิ่มคำว่า  “ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ”  เพื่อให้สอดรับกับร่างที่แก้ไข

-รายละเอียดของผู้ขออนุญาตที่จะต้องปฏิบัติตาม             กฎหมายเดิม เป็นเพียงรายละเอียดไม่ควรกำหนดไว้               ในกฎหมาย หากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียด          ตามสภาพการณ์ปัจจุบัน สามารถแก้ไขได้ง่าย รวดเร็ว         โดยกำหนดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อผู้มีอำนาจอนุญาตจะได้ถือปฏิบัติ   ไปในแนวทางเดียวกัน

-ได้เพิ่มเติมหน่วยงานคือ “ สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ”       และ “ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ” เพื่อให้ครอบคลุมหน่วยงานราชการที่มีอยู่ในปัจจุบัน

 

ได้แก้ไขคำว่า  “ พนักงานเจ้าหน้าที่ ”  เป็น  “ เจ้าพนักงาน ”เพื่อความชัดเจนในทางปฏิบัติว่า  มุ่งหมายถึงเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้

 

ไม่มีการแก้ไข

 

 

 

ได้แก้ไขชื่อจาก “ คณะกรรมการ ” เป็น  “ คณะกรรมการ ชลประทานราษฎร์จังหวัด ” เพื่อให้สอดรับกับกฎหมาย         ที่แก้ไขโดยที่เมื่อกฎหมายที่แก้ไขได้กำหนดให้มีคณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัดไว้แล้ว ควรให้คณะกรรมการชุดนี้ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อความเหมาะสม

 

 

 

 

-ได้แก้ไขชื่อจาก “ คณะกรรมการ ” เป็น “ คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด ” เพื่อให้สอดรับกับกฎหมาย        

ที่แก้ไข และได้ปรับปรุงถ้อยคำจากคำว่า “ ค่าตอบแทน

เป็น  “ ค่าทดแทน ” เพื่อให้เป็นถ้อยคำเดียวกัน

-ได้แก้ไขคำว่า  “ พนักงานเจ้าหน้าที่ ”  เป็น  “ เจ้าพนักงาน ”เพื่อความชัดเจนในทางปฏิบัติว่า มุ่งหมายถึงเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้  และได้ปรับปรุงถ้อยคำให้เหมาะสมและเป็นปัจจุบัน

ได้แก้ไขชื่อจาก “ คณะกรรมการ ” เป็น “คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัด” เพื่อให้สอดรับกับกฎหมาย         ที่แก้ไข

 

 

 

 

 

ไม่มีการแก้ไข

 

 

 

 

แก้ไขจาก “ การเพาะปลูก ” เป็น “ การเกษตรกรรม ” เพื่อให้สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไข    

 

 

 

 

 

ไม่มีการแก้ไข

 

 

 

 

 

 

แก้ไขชื่อตำแหน่งให้เป็นปัจจุบัน

 

 

         มาตรา 12  การชลประทานส่วนราษฎรที่จะจัดทำขึ้นใหม่ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของราษฎรส่วนมาก             ที่จะได้รับประโยชน์จากการชลประทานนั้น โดยการคำนวณเสียงตามมาตรา 22 () ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมาย                 จากราษฎร และพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา 7                   นอกจากวรรคสุดท้าย

         มาตรา 12  การชลประทานส่วนราษฎรที่จะจัดทำขึ้นใหม่ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของราษฎรส่วนมาก               ที่จะได้รับประโยชน์จากการชลประทานนั้น โดยการคำนวณเสียงตามมาตรา 22 () ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากราษฎร และเจ้าพนักงานปฏิบัติตามมาตรา 7 ยกเว้นวรรคสี่

       

ได้แก้ไขคำว่า  “ พนักงานเจ้าหน้าที่ ”  เป็น  “ เจ้าพนักงาน ”เพื่อความชัดเจนในทางปฏิบัติว่า มุ่งหมายถึงเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้  และได้ปรับปรุงถ้อยคำให้เหมาะสมและเป็นปัจจุบัน

 

         มาตรา 13  ให้นายอำเภอมีอำนาจตั้งบุคคลที่สมควรตามความเห็นชอบของราษฎรส่วนมากที่ได้รับประโยชน์    ในเขตการชลประทาน  เป็นหัวหน้าการชลประทานรายนั้น  หรือเป็นผู้ช่วยตามจำนวนที่เห็นสมควร และให้มีอำนาจ   ถอดถอนบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งดังว่านั้นในมื่อราษฎรส่วนมากเห็นสมควร

         มาตรา 13  ให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอตั้งบุคคลตามความเห็นชอบของราษฎร ส่วนมากที่ได้รับประโยชน์ในเขตการชลประทาน                         เป็นหัวหน้าการชลประทาน  หรือเป็นผู้ช่วยตามจำนวน           ที่เห็นสมควร และให้ถอดถอนบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งนั้น         เมื่อราษฎรส่วนมากเห็นสมควร

-ตัดคำว่า “ มีอำนาจ ” และ“ ที่สมควร ” ออก เพราะกฎหมายเดิมเป็นการให้ดุลยพินิจของนายอำเภอที่จะไม่ตั้งบุคคลที่ราษฎรส่วนมากได้เลือกบุคคลไว้แล้วก็ได้  แต่ที่แก้ไขใหม่เป็นการให้นายอำเภอต้องตั้งบุคคลตามความเห็นชอบตามเสียงส่วนมากที่ราษฎรได้เลือกไว้เพราะถือว่าเป็นประชามตินอกจากนี้ได้ตัดคำว่าคำว่า “ รายนั้น ”  “ให้ ”  “ ดังว่า ”  “ใน ”

ออก เพราะเป็นคำฟุ่มเฟือย

-ได้เพิ่มคำว่า  “ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ”  เพื่อให้สอดรับกับร่างที่แก้ไข 

         มาตรา 14  การเกณฑ์แรงงานหรือเครื่องอุปกรณ์       การชลประทานส่วนราษฎรในเวลาปกติ  ให้นายอำเภอ        เป็นผู้สั่งเกณฑ์ ในเวลาฉุกเฉิน  ให้กรมการอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือหัวหน้าการชลประทาน เป็นผู้สั่งเกณฑ์จากผู้ที่ได้รับประโยชน์ในเขตการชลประทานนั้น

 

         มาตรา 14  การเกณฑ์เครื่องอุปกรณ์ การชลประทานส่วนราษฎร ให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้า ประจำกิ่งอำเภอ เจ้าพนักงานท้องถิ่น  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน      หรือหัวหน้าการชลประทาน เป็นผู้สั่งเกณฑ์จากผู้ที่ได้รับประโยชน์ ในเขตการชลประทานนั้น

 

      

  

 

 

 

 

         

         เพื่อประโยชน์ของราษฎรในเขตการชลประทาน         หากราษฎรต้องการที่จะให้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด

กับแรงงานอันเกี่ยวกับการชลประทานส่วนราษฎรให้เจ้า

พนักงานตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการ  ให้เป็นไปตามความต้องการนั้น

         การเกณฑ์แรงงานการชลประทานส่วนราษฎรจะกระทำมิได้ เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาเป็นการฉุกเฉินให้เจ้าพนักงานตามวรรคหนึ่งเป็นผู้สั่ง

เกณฑ์แรงงานและเครื่องอุปกรณ์จากผู้ที่ได้รับประโยชน์        ในเขตการชลประทานนั้น

- ตัดคำว่า  “ การเกณฑ์แรงงาน ”  ออกเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 38  ที่กำหนดห้ามการเกณฑ์แรงงานแต่ไม่ห้ามการเกณฑ์เครื่องอุปกรณ์ 

- ตัดคำว่า “ ในเวลาปกติ”  และ“ ในเวลาฉุกเฉิน ” ออกเพราะความในมาตรา 14 วรรคหนึ่งที่แก้ไขนี้เป็นกรณีปกติอยู่แล้วไม่จำต้องกำหนดไว้ในกฎหมายประกอบกับในเวลาฉุกเฉินได้กำหนดไว้ในวรรคสามของมาตรา 14 ที่แก้ไข

-ได้เพิ่มคำว่า  “ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ”  เพื่อให้สอดรับกับร่างที่แก้ไข   

-เพิ่มตำแหน่ง “ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ” เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

เพิ่มความเป็นวรรคสองของมาตรา  14  เพื่อให้ราษฎร                 ที่ต้องการช่วยเหลือกิจการเกี่ยวกับการชลประทาน              ให้สามารถดำเนินการได้  โดยไม่ขัดต่อบทบัญญัติ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550     มาตรา 38  ที่กำหนดห้ามการเกณฑ์แรงงาน

เพิ่มความเป็นวรรคสามของมาตรา  14  เพื่อให้สอดคล้อง   กับข้อยกเว้น  การเกณฑ์แรงงานตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  2550  มาตรา 38          

และยังคงหลักการการเกณฑ์เครื่องอุปกรณ์ในเวลาฉุกเฉิน   ไว้ตามเดิม

         มาตรา 15  การเกณฑ์เครื่องอุปกรณ์การชลประทานส่วนราษฎร ให้เจ้าพนักงานคำนวณให้พอเพียงต่อ             การทำ แล้วกำหนดเกณฑ์เอาตามเนื้อที่ที่ทำการพาะปลูก   โดยเฉลี่ยไร่หนึ่งมีส่วนเท่าๆ กัน เศษของไร่หรือผู้ที่มีเนื้อที่ไม่ถึงหนึ่งไร่ให้นับเป็นหนึ่ง

         มาตรา 15  การเกณฑ์เครื่องอุปกรณ์การชลประทาน  ส่วนราษฎร ให้เจ้าพนักงานตามมาตรา 14 วรรคหนึ่ง คำนวณให้พอเพียงต่อการดำเนินการ กำหนดเกณฑ์ตามเนื้อที่ที่ทำการเกษตรกรรม โดยเฉลี่ยเนื้อที่หนึ่งไร่  เป็นหนึ่งส่วน เศษของไร่หรือผู้ที่มีเนื้อที่ไม่ถึงหนึ่งไร่ให้นับเป็นหนึ่งส่วน

เพื่อให้ความตามกฎหมายที่แก้ไขมีความชัดเจน

มากยิ่งขึ้น                                                

 

 

 

        มาตรา 16  การเกณฑ์แรงงานและแบ่งงานทำการชลประทานส่วนราษฎรให้จัดแบ่งมากน้อยตามส่วนของจำนวนเนื้อที่ที่มีไว้พื่อทำการเพาะปลูกของผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดินนั้น

         งานใดที่แบ่งแยกกันทำไม่ได้ให้เกณฑ์แรงและแบ่งงาน โดยคำนวณดังต่อไปนี้  ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินคนใดมีเนื้อที่ไม่เกินสิบไร่ให้ไปทำงาน 

คนหนึ่ง ถ้ามากกว่าสิบไร่ ให้คำนวณทวีขึ้นไปโดยอัตราสิบไร่ต่อหนึ่งคน  เศษของสิบไร่ ถ้าถึงครึ่ง ให้นับเป็นหนึ่ง

 

         มาตรา 16  การดำเนินการเกี่ยวกับการเกณฑ์แรงงานตามมาตรา  14  วรรคสาม  ให้จัดแบ่งงาน ตามจำนวนเนื้อที่มากน้อย ที่ทำการเกษตรกรรมของผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้น

         งานใดที่แบ่งแยกกันทำไม่ได้ ตามวรรคหนึ่งให้แบ่งงาน โดยคำนวณดังต่อไปนี้  ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดินคนใด มีเนื้อที่ไม่เกินสิบไร่ให้ไปทำงาน  

หนึ่งคน หากมีเนื้อที่มากกว่าสิบไร่ให้คำนวณทวีขึ้นไป โดยกำหนดในอัตราสิบไร่ต่อหนึ่งคน เศษของสิบไร่  ถ้าถึงครึ่ง    ให้นับเป็นหนึ่ง

เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา  14  ที่แก้ไขโดยให้มีการ     จัดแบ่งงานกันได้ และได้ปรับถ้อยคำให้กระชับขึ้น  นอกจากนี้ได้แก้ไขคำว่า “ การเพาะปลูก ” เป็น                      “ การเกษตรกรรม ”เพื่อให้สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไข

เพื่อให้สอดรับกับมาตรา  14  ที่แก้ไข โดยให้มีการ     จัดแบ่งงานกันได้  และได้ปรับถ้อยคำให้มีความชัดเจนขึ้น           

 

 

 

 

         มาตรา 17  ในการแบ่งปันการงานและเครื่องอุปกรณ์การชลประทานส่วนราษฎรให้กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าการชลประทาน   หรือผู้ช่วยในเขตการชลประทานนั้นเป็นผู้แบ่ง และควบคุมงานจนกว่าจะแล้วเสร็จ

         มาตรา 17  ในการแบ่งปันการงานและเครื่องอุปกรณ์การชลประทานส่วนราษฎร ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าการชลประทาน  หรือผู้ช่วยในเขตการชลประทานนั้น เป็นผู้แบ่ง และควบคุมงานจนกว่า                  จะแล้วเสร็จ 

เพิ่มตำแหน่ง “ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ” เพื่อให้สอดคล้อง       กับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

 

 

         มาตรา 18  การบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมแก้ไขการชลประทานส่วนราษฎร ให้ราษฎรที่ได้รับประโยชน์จากการชลประทานนั้น  มีหน้าที่ทำงานตามคำสั่งเกณฑ์ของเจ้าพนักงาน

 

 

       

         ในการนี้ถ้ามีกรณีโต้แย้งเกิดขึ้น ให้นายอำเภอ มีอำนาจสั่งดำเนินการตามที่เห็นสมควร เพื่อให้เสร็จก่อนฤดูทำการเพาะปลูก             

         มาตรา 18  เพื่อประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมแก้ไขการชลประทานส่วนราษฎร  หากราษฎร         ต้องการที่จะให้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด                อันเกี่ยวกับการบำรุงรักษา  หรือซ่อมแซมแก้ไขการชลประทานส่วนราษฎรตามที่ได้ทำข้อตกลงกันไว้                 ให้เจ้าพนักงานตามมาตรา 14 วรรคหนึ่ง เป็นผู้ดำเนินการ       ให้เป็นไปตามความต้องการนั้น 

         ถ้ามีกรณีโต้แย้งเกิดขึ้น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจสั่งดำเนินการตามที่เห็นสมควร เพื่อให้เสร็จก่อนฤดูทำการเพาะปลูก  

แก้ไขมาตรา 18 วรรคหนึ่งเพื่อให้ราษฎรที่ต้องการ   ช่วยเหลือในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซม แก้ไขการชลประทานส่วนราษฎรสามารถดำเนินการได้โดยไม่ขัด    ต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  มาตรา 38  ที่กำหนดห้ามการเกณฑ์แรงงาน 

 

แก้ไขโดยการตัดคำว่า “ในการนี้ ”  ออก เพื่อให้เหมาะสม

และได้แก้ไขผู้มีอำนาจสั่งการในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นจาก  “ นายอำเภอ ” เป็น “ ผู้ว่าราชการจังหวัด ” เพราะสมควรให้ตำแหน่งที่สูงกว่าเป็นผู้ชี้ขาด  

         มาตรา 19  ถ้าเขตก่อสร้างของการชลประทานส่วนราษฎรตรงที่ใดไม่มีที่ขุดดินหรือทิ้งมูลดินพอ ก็ให้นายอำเภอมีอำนาจสั่งให้ขุดหรือทิ้งมูลดินในที่ดิน                  ที่ใกล้ หรือข้างเคียงซึ่งติดต่อกับเขตก่อสร้างของ                       การชลประทานนั้น  ห่างข้างละไม่เกิน 5 เมตร

 

         มาตรา 19  ถ้าเขตก่อสร้างของการชลประทาน            ส่วนราษฎรตรงที่ใดไม่มีที่ขุดดินหรือทิ้งมูลดินพอ หรือทิ้ง    สิ่งอื่นใดก็ให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอมีอำนาจสั่งให้ขุดหรือทิ้งมูลดินหรือทิ้งสิ่งอื่นใด       ในที่ดินที่ใกล้ หรือข้างเคียงซึ่งติดต่อกับเขตก่อสร้าง            ของการชลประทานนั้น หากก่อให้เกิดความเสียหาย ให้ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการชลประทานส่วนราษฎรร่วมกันใช้     ค่าสินไหมทดแทนเฉลี่ยตามสัดส่วนเนื้อที่

-เพิ่มคำว่า  “ ทิ้งสิ่งอื่นใด ” เพราะไม่จำกัดเฉพาะการทิ้ง      มูลดิน

-เพิ่มคำว่า  “ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ”  เพื่อให้สอดรับกับร่างที่แก้ไข

-ตัดความคำว่า  “ห่างข้างละไม่เกิน  5 เมตร ” ออก  เนื่องจาก      หลักในทางวิศวกรรมอาจใช้ที่ดินมากหรือน้อย                       ตามความจำเป็น 

-กำหนดบุคคลเพื่อความชัดเจนในการเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายโดยเฉลี่ยตามสัดส่วนเนื้อที่

         มาตรา 20  เพื่อประโยชน์ในการขุด ทำ ซ่อมหรือแก้ไขการชลประทานส่วนราษฎร ให้นายอำเภอมีอำนาจสั่ง ตัด ฟัน  ชัก ลาก  ไม้กระยาเลยหวงห้ามชนิดที่ 3 ในป่าได้ตามที่เห็นสมควร

         .................................................................................

..............................................................................................

..............................................................................................

................................................................................................

ไม่มีการแก้ไข  

         มาตรา 21  การแบ่งปันน้ำในเขตการชลประทาน       ส่วนราษฎรให้เป็นหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าการชลประทานหรือผู้ช่วยเป็นผู้แบ่งปันตามส่วนของจำนวน

เนื้อที่ที่ทำการเพาะปลูกเว้นแต่ในกรณีที่ตกลงกันไม่ได้

จึงให้นายอำเภอ หรือผู้แทน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  และหัวหน้า

การชลประทานในส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นไม่น้อยกว่าสามนาย เป็นผู้พิจารณาสั่งชี้ขาดตามเสียงข้างมาก      

        

 

 

 

        

        

         ในเวลาน้ำไม่พอแจกจ่ายให้เป็นประโยชน์แก่การเพาะปลูกได้ทั่วถึงกัน ให้นายอำเภอหรือผู้แทนประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและหัวหน้าการชลประทานในเขตการชลประทานนั้นพิจารณาสั่งชี้ขาดตามเสียงข้างมาก

        

        

        

 

         ตามความในวรรค 2 นี้ ถ้าเป็นกรณีในระหว่างอำเภอต่ออำเภอ ให้นำมาตรา 22 () และ ()  มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

 

         มาตรา 21  การแบ่งปันน้ำในเขตการชลประทาน       ส่วนราษฎร ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าการชลประทาน  หรือผู้ช่วยในเขตการ

ชลประทานนั้นเป็นผู้แบ่งปันตามส่วนของจำนวนเนื้อที่ที่ทำการเกษตรกรรมเว้นแต่กรณีที่ตกลงกันไม่ได้ ให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ เป็นผู้สั่งชี้ขาด

          

 

 

 

 

        

         

         ในกรณีน้ำไม่เพียงพอและทั่วถึงแก่การเกษตรกรรม      ให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้แทนประชุม  เจ้าพนักงานท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและหัวหน้าการชลประทานในเขตการชลประทานนั้นพิจารณาสั่งชี้ขาดตามเสียงข้างมาก  ถ้าและคะแนนเสียงเท่ากันให้นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำ      กิ่งอำเภอ  หรือผู้แทนเป็นผู้สั่งชี้ขาด

        

         ..................................................................................

.............................................................................................

..............................................................................................

-เพิ่มตำแหน่ง “ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ” เพื่อให้สอดคล้อง       กับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

-ได้กำหนดเขตพื้นที่ในการแบ่งปันน้ำของเจ้าพนักงาน        ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ชัดเจนขึ้น

- ได้แก้ไขคำว่า “ การเพาะปลูก ” เป็น “ การเกษตรกรรม ” เพื่อให้สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไข

-เมื่อกำหนดเขตพื้นที่ในการแบ่งปันน้ำของเจ้าพนักงาน        ในการปฏิบัติหน้าที่ไว้ชัดเจนแล้ว หากตกลงตามส่วนของเนื้อที่ในการแบ่งปันน้ำกันไม่ได้ จึงให้นายอำเภอเป็นผู้ชี้ขาดแต่เพียงผู้เดียว

-เพิ่มคำว่า  “ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ”  เพื่อให้สอดรับกับร่างที่แก้ไข

-แก้ไขความให้ชัดเจนขึ้น และเพิ่มตำแหน่ง “ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ” เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติกำหนด    แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

-เพิ่มคำว่า  “ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ”  เพื่อให้สอดรับกับร่างที่แก้ไข

- เพื่อมิให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ กำหนดให้นายอำเภอ    หรือผู้แทนเป็นผู้ชี้ขาดกรณีมีคะแนนเสียงเท่ากัน

ไม่มีการแก้ไข

 

         มาตรา 22  ในการเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม รวมกัน หรือเพิกถอนการชลประทานส่วนราษฎรภายในเนื้อที่ซึ่งได้รับอนุญาตไว้แล้ว ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้           

               ()  กรณีที่เกิดขึ้นในอำเภอเดียวกันให้นายอำเภอสั่งชี้ขาดตามเสียงข้างมากของราษฎรที่ได้รับประโยชน์จากการชลประทานนั้น  การออกเสียงลงคะแนนให้ถือเกณฑ์ดังนี้  ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่เกินสิบไร่ ให้ออกเสียงได้     เสียงหนึ่ง  ถ้าเกินสิบไร่ ให้คำนวณทวีขึ้นโดยอัตราสิบไร่  ต่อหนึ่งเสียง เศษของสิบไร่ ถ้าถึงครึ่ง ให้นับเป็นหนึ่ง                 

         ()  กรณีที่เกิดขึ้นระหว่างอำเภอต่ออำเภอ                            ในจังหวัดเดียวกัน ให้ข้าหลวงประจำจังหวัด                             ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณามีจำนวนอย่างน้อยห้าคน                 

และให้ข้าหลวงประจำจังหวัดสั่งชี้ขาดตามเสียงข้างมาก

            

              

         ()  กรณีที่เกิดขึ้นระหว่างจังหวัดต่อจังหวัด                   ให้ ข้าหลวงประจำจังหวัดนั้นๆ ตั้งกรรมการขึ้นจังหวัด       ละสามคน  และให้อธิบดีกรมชลประทานตั้งกรรมการ                   อีกคนหนึ่งรวมเป็นคณะกรรมการพิจารณา แล้วให้           ข้าหลวงประจำจังหวัดนั้นๆ สั่งชี้ขาดตามเสียงข้างมาก  

         ………………………………………………………..

………………………………………………………………

………………………………………………………………

          .....................................................................................

................................................................................................

................................................................................................

................................................................................................ 

.................................................................................................

.................................................................................................                  

          ()  กรณีที่เกิดขึ้นระหว่างอำเภอต่ออำเภอ                   ในจังหวัดเดียวกัน ให้คณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัดพิจารณา และให้ประธานคณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัดสั่งชี้ขาดตามเสียงข้างมาก  และถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด

 

         ()  กรณีที่เกิดขึ้นระหว่างจังหวัดต่อจังหวัด                           ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด นั้นๆ ตั้งกรรมการขึ้นจังหวัด                     ละสามคน  และให้อธิบดีกรมชลประทานตั้งกรรมการ                 อีกหนึ่งคนรวมเป็นคณะกรรมการพิจารณา แล้วให้                      ประธานคณะกรรมการนั้น สั่งชี้ขาดตามเสียงข้างมาก                      และถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานคณะกรรมการนั้น   เป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด

ไม่มีการแก้ไข

 

 

ไม่มีการแก้ไข   

 

                             

 

 

 

-เมื่อกฎหมายที่แก้ไขได้กำหนดให้มีคณะกรรมการชลประทานราษฎร์จังหวัดไว้แล้วเพื่อความเหมาะสม         ควรให้คณะกรรมการชุดนี้แทนคณะกรรมการชุดเดิม            

ที่กำหนดให้ข้าหลวงประจำจังหวัดตั้งคณะกรรมการ          ขึ้นพิจารณา และกำหนดให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ชี้ขาด       กรณีมีคะแนนเสียงเท่ากัน เพื่อมิให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ

-แก้ไขชื่อตำแหน่งให้เป็นปัจจุบัน  และกำหนดให้                ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้ชี้ขาด กรณีมีคะแนนเสียงเท่ากัน เพื่อมิให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ

-ปรับถ้อยคำให้เหมือนกับความในวรรคเดียวกัน

-เรื่องผู้ชี้ขาด เมื่อดำเนินการในรูปคณะกรรมการสมควรให้ประธานคณะกรรมการนั้นเป็นผู้ชี้ขาด 

 

         มาตรา 23  ถ้าจะต้องมีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลเพื่อการชลประทานส่วนราษฎร ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับ

 

         มาตรา 23  ถ้าจะต้องมีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลเพื่อการชลประทานส่วนราษฎร ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม

เพิ่มคำว่า  “ โดยอนุโลม ”  เพื่อความยืดหยุ่นในการบังคับ   ใช้กฎหมาย  หากนำมาใช้บังคับโดยตรงไม่ได้  ก็ยังสามารถนำมาใช้ได้ตามควรแก่กรณี

         มาตรา 24  ผู้ใดไม่สามารถไปทำงานตามคำสั่งเกณฑ์ของเจ้าพนักงาน ถ้าสามารถจัดผู้อื่นไปทำแทน ผู้นั้นต้องจัด

ให้ผู้อื่นสมควรไปทำแทน  หรือจะให้เงินทดแทนค่าแรงงานตามปริมาณแห่งงานที่จะต้องทำก็ได้

 

   มาตรา 24  ผู้ใดไม่สามารถไปทำงานตามคำสั่งเกณฑ์ของเจ้าพนักงานตามมาตรา 14 วรรคสาม ถ้าสามารถจัดผู้อื่นไปทำแทน ผู้นั้นต้องจัดให้ผู้อื่นสมควรไปทำแทน  หรือจะให้เงินทดแทนค่าแรงงานตามปริมาณแห่งงานที่จะต้องทำก็ได้

เพิ่มความเพื่อให้สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไขตาม                    มาตรา 14 วรรคสาม

         มาตรา 25  เมื่อคณะกรมการอำเภอพิจารณาเห็นสมควรว่า ผู้ใดไม่สามารถจะปฏิบัติตามคำสั่งเกณฑ์ของเจ้าพนักงาน  และไม่สามารถจัดหาคนอื่นทำแทนทั้งไม่มีทรัพย์จะเสียค่าทดแทน จะงดเว้นการเกณฑ์ตามพระราชบัญญัตินี้เฉพาะคราวที่จำเป็นแก่ผู้นั้นเสียก็ได้

         มาตรา 25  เมื่อนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ พิจารณาเห็นสมควรว่าผู้ใดไม่สามารถ          จะปฏิบัติตามคำสั่งเกณฑ์ของเจ้าพนักงาน  ตามมาตรา 14 วรรคสามและไม่สามารถจัดหาคนอื่นทำแทนทั้งไม่มีทรัพย์   จะเสียค่าทดแทน จะงดเว้นการเกณฑ์ตามพระราชบัญญัตินี้เฉพาะคราวที่จำเป็นแก่ผู้นั้นเสียก็ได้        

-แก้ไขชื่อจาก “ คณะกรมการอำเภอ ”  เป็น “ นายอำเภอ ”   เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534   มาตรา 62 ได้กำหนดให้บรรดาอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอหรือนายอำเภอ   ซึ่งกฎหมายกำหนดให้กรมการอำเภอและนายอำเภอ               มีอยู่ให้โอนไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอ          ดังนั้นจึงต้องยกเลิกชื่อคณะกรมการอำเภอ และใช้คำว่านายอำเภอแทน

-เพิ่มคำว่า  “ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ”  เพื่อให้สอดรับกับร่างที่แก้ไข

-เพิ่มความเพื่อให้สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไขตาม                    มาตรา 14 วรรคสาม

 

         มาตรา 26  กิจการในหน้าที่ซึ่งเจ้าพนักงานได้แบ่งปันให้ผู้ใดกระทำ ถ้าผู้นั้นละเลยไม่กระทำตามคำสั่งด้วยประการใดๆ ก็ดี นอกจากที่จะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 38 () แล้ว ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจจัดบุคคลอื่นเข้ากระทำแทน โดยกำหนดค่าจ้างตามสมควรและให้ผู้ละเลยเป็นผู้รับผิดชอบออกค่าจ้างนั้น

         มาตรา 26  กิจการในหน้าที่ซึ่งเจ้าพนักงานตามมาตรา 14 วรรคสาม ได้แบ่งปันให้ผู้ใดกระทำ ถ้าผู้นั้นละเลยไม่กระทำตามคำสั่งด้วยประการใดๆ ก็ดี นอกจากที่จะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 38 () แล้ว ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจจัดบุคคลอื่นเข้ากระทำแทน โดยกำหนดค่าจ้างตามสมควรและให้ผู้ละเลยเป็นผู้รับผิดชอบออกค่าจ้างนั้น

เพิ่มความเพื่อให้สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไขตาม                    มาตรา 14 วรรคสาม

         มาตรา 27  กิจการใดซึ่งเกี่ยวกับการชลประทานส่วนราษฎร เมื่อเจ้าพนักงานได้สั่งชี้ขาดไปตามความในมาตรา 21, 22 แล้ว  ให้ถือว่าเป็นที่สุด

 

          .....................................................................................

...............................................................................................

...............................................................................................

ไม่มีการแก้ไข

         มาตรา 28  บุคคลผู้มีหน้าที่ควบคุมทำการชลประทานส่วนราษฎรในเขตตำบลใด ให้ได้รับยกเว้นการเกณฑ์แรง และเครื่องอุปกรณ์การชลประทานในเขตตำบลนั้นดังนี้

                ()  กำนันและหัวหน้าการชลประทาน                            คนละสามสิบไร่

                ()  ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยหัวหน้าการชลประทานคนละสิบห้าไร่

         ถ้าในเขตนั้นมีเนื้อที่เพาะปลูกไม่ถึงห้าร้อยไร่                                     ให้บุคคลดังกล่าวแล้วได้รับการยกเว้นเพียงกึ่งอัตรา

         แต่ถ้าราษฎรผู้ได้รับประโยชน์เห็นสมควรให้ได้รับการยกเว้นมากกว่าที่กล่าวไว้ในมาตรานี้    ก็ให้นายอำเภอยกเว้นตามเสียงข้างมากของราษฎร

          

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ยกเลิกมาตรา 28  เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  มาตรา 30 คือบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย

         มาตรา 29  ผู้ใดได้รับสิทธิตามมาตรา 28 แต่ไม่มีเนื้อที่ดินทำการเพาะปลูกของตนเองหรือมีไม่พอตามสิทธิที่ได้รับ ให้ผู้นั้นมีสิทธิคุ้มครองเนื้อที่ดินทำการเพาะปลูกของผู้อื่นเสมือนที่ดินของตนเองได้อีกไม่เกินสามราย แต่เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้ว เนื้อที่ดินต้องไม่เกินกำหนดอัตรา

ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 28

 

         

           

ยกเลิกมาตรา 29  เพราะเป็นมาตราอุปกรณ์ของมาตรา 28    ซึ่งไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  มาตรา 30                          คือบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย   

 

 

หมวด  3

การชลประทานส่วนการค้า

         มาตรา 30  ผู้ใดจะทำการชลประทานส่วนการค้า ให้ยื่นคำขอสัมปทานต่อกระทรวงเกษตราธิการ และเมื่อได้รับสัมปทานแล้ว จึงจะทำได้  เว้นแต่จะเป็นการกระทำ            

ชั่วครั้งคราว ซึ่งมิได้มีการก่อสร้างไว้เป็นประจำและไม่กีดขวางทางน้ำสาธารณะ หรือทำให้เสียหายแก่บุคคลอื่น

หมวด  3

การชลประทานส่วนการค้า

     มาตรา 30  ผู้ใดจะทำการชลประทานส่วนการค้า ให้ยื่นคำขอสัมปทานต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเมื่อได้รับสัมปทานแล้ว  จึงจะทำได้  เว้นแต่จะเป็นการชั่วคราว   

ซึ่งมิได้มีการก่อสร้างไว้เป็นประจำและไม่กีดขวางทางน้ำ   สาธารณะหรือทำให้เสียหายแก่บุคคลอื่น

 

 

แก้ไขชื่อให้เป็นปัจจุบัน  และได้ปรับถ้อยคำให้กระชับ

         มาตรา 31  ผู้ขอสัมปทานทำการชลประทานส่วนการค้าต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 กับแสดงรายการต่อไปนี้อีกด้วย คือ

                ()   อัตราค่าตอบแทนที่จะเรียกเก็บจากผู้ที่ทำการเพาะปลูกซึ่งต้องอาศัยใช้น้ำจากการชลประทานนั้น

                (ข)   จำนวนเนื้อที่ที่ทำการเพาะปลูกอยู่แล้ว ซึ่งผู้ที่ทำการเพาะปลูกยินยอมจะให้ค่าตอบแทน

                ()   จำนวนเนื้อที่รกร้างว่างเปล่าที่การชลประทานนี้ จะทำให้บุกเบิกเป็นที่เพาะปลูกได้

                ()   ระยะเวลาแห่งสัมปทานที่ขอ

         มาตรา 31  ผู้ขอสัมปทานทำการชลประทานส่วนการค้าต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และแบบที่กระทรวงเกษตร                    และสหกรณ์ประกาศกำหนด          

         

 

 

รายละเอียดของผู้ขออนุญาตที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเดิม เป็นเพียงรายละเอียดไม่ควรกำหนดไว้ในกฎหมาย หากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดตามสภาพการณ์ปัจจุบัน สามารถแก้ไขได้ง่าย รวดเร็ว โดยกำหนดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์         และแบบ เพื่อผู้มีอำนาจอนุญาตจะได้ถือปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน

 

 

  

         มาตรา 32  ผู้รับสัมปทานมีสิทธิเรียกเก็บค่าตอบแทนจากผู้ที่ได้รับน้ำจากการชลประทานใหม่นั้นโดยเฉพาะ  แต่ห้ามไม่ให้ใช้สิทธิเรียกเก็บค่าตอบแทนจากผู้ที่ตามธรรมดา

เคยได้รับน้ำพอเพียงแก่การใช้มาก่อนแล้ว เว้นแต่จะได้มีสัญญาตกลงกันใหม่เป็นพิเศษ

 

         ………………………………………………………

……………………………………………………………..

………………………………………………………………

………………………………………………………………

………………………………………………………………

ไม่มีการแก้ไข

         มาตรา 33  ผู้รับสัมปทานจะต้องปฏิบัติการมิให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น

 

         ……………………………………………………….

………………………………………………………………

ไม่มีการแก้ไข

         มาตรา 34  ผู้รับสัมปทานต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัมปทาน

 

         ……………………………………………………….

………………………………………………………………

ไม่มีการแก้ไข

          มาตรา 35  ผู้รับสัมปทานต้องทำรายงานแสดงผลของกิจการที่ได้ทำไปยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้ควบคุมการชลประทานปีละครั้ง เว้นแต่เจ้าพนักงานควบคุมการชลประทานจะสั่งโดยหนังสือเป็นอย่างอื่น

 

 

 

         ………………………………………………………

……………………………………………………………..

……………………………………………………………..

……………………………………………………………..

ไม่มีการแก้ไข

 

 

         มาตรา 36  ผู้รับสัมปทานจะต้องยอมให้เจ้าพนักงาน

ผู้ควบคุมการชลประทานเข้าตรวจตราการงานที่ทำอยู่นั้นในเวลาสมควร  และต้องชี้แจงตอบข้อความตามที่เจ้าพนักงาน

ผู้ควบคุมการชลประทานต้องการทราบเกี่ยวกับการนั้น

         ………………………………………………………

……………………………………………………………..

……………………………………………………………..

……………………………………………………………..

ไม่มีการแก้ไข

          มาตรา 37  ผู้ใดทำการชลประทานส่วนการค้าอยู่แล้ว ก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ให้ยื่นคำขอสัมปทานต่อกระทรวงเกษตราธิการ   และปฏิบัติตามความในมาตรา 31  ภายในกำหนดสิบสองเดือนนับแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้

 

            ..................................................................................

..............................................................................................

..............................................................................................

..............................................................................................  

ไม่มีการแก้ไข

หมวด  4

บทกำหนดโทษ

         มาตรา 38  ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 

                (ก)   ขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงานตามมาตรา 5        มาตรา 6 มาตรา 9  มาตรา 11  มาตรา 14  มาตรา 18                    และมาตรา 21

               (ข)   ไม่ปฏิบัติตามความในมาตรา 7 วรรคแรกและวรรคสุดท้าย  และมาตรา 10  มาตรา  24  มาตรา 35    และมาตรา 36

               (ค)   ไม่ยอมให้ขุดหรือทิ้งมูลดินในที่ดินของตนตามมาตรา 19

             

 

               (ง)   ทำลาย แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำไว้เพื่อแบ่งปันน้ำที่เจ้าพนักงานได้แบ่งปันเด็ดขาดแล้วตามมาตรา 21

               (จ)  ขยายเขตการชลประทานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 7

         ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน                 หนึ่งพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน  หรือทั้งจำทั้งปรับ           

หมวด  4

บทกำหนดโทษ

         ……………………………………………………….

               ……………………………………………………

……………………………………………………………..

……………………………………………………………..

         .....................................................................................

.............................................................................................

............................ ........ ........................................................   

          ……………………………………………………….

………………………………………………………………

        

 

         ……………………………………………………….

………………………………………………………………

         ……………………………………………………….

……………………………………………………………..

         ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน  หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ               

 

 

ไม่มีการแก้ไข

 

 

 

ไม่มีการแก้ไข

 

 

ไม่มีการแก้ไข

 

 

 

ไม่มีการแก้ไข

 

ไม่มีการแก้ไข

 

ปรับปรุงถ้อยคำเกี่ยวกับการระวางโทษเพื่อให้เป็นไปตามลำดับของโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18    ที่กำหนดให้ลำดับโทษจำคุกมาก่อนโทษปรับ

 

         มาตรา 38 ทวิ  เมื่อมีการชำระเงินค่าทดแทน หรือเมื่อมีการวางเงินค่าทดแทนต่อศาลแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครอง

ที่ดินผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกในการ     ทำทางน้ำ ตามมาตรา 10 ทวิ หรือการรักษาและใช้ทางน้ำนั้น        ตามมาตรา 10 ตรี มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน   หนึ่งพันบาท  หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน  หรือทั้งปรับทั้งจำ  

         มาตรา 38 ทวิ  เมื่อมีการชำระเงินค่าทดแทน หรือเมื่อมีการวางเงินค่าทดแทนต่อศาลแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครอง

ที่ดินผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกในการ         ทำทางน้ำ ตามมาตรา 10 ทวิ หรือการรักษาและใช้ทางน้ำนั้น        ตามมาตรา 10 ตรี มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน     หนึ่งเดือน  หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ   

ปรับปรุงถ้อยคำเกี่ยวกับการระวางโทษเพื่อให้เป็นไปตามลำดับของโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18   

ที่กำหนดให้ลำดับโทษจำคุกมาก่อนโทษปรับ     

 

 

  

 

         มาตรา 38 ตรี  ผู้ใดปิดกั้นทางน้ำตามมาตรา 10 ทวิ หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินผู้ได้รับน้ำจากทางน้ำนั้น ได้รับประโยชน์ลดลงหรือ  

ไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควร มีความผิด   ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท  หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน  หรือทั้งปรับทั้งจำ  

         มาตรา 38 ตรี  ผู้ใดปิดกั้นทางน้ำตามมาตรา 10 ทวิ     หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินผู้ได้รับน้ำจากทางน้ำนั้น ได้รับประโยชน์ลดลงหรือ  

ไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควร มีความผิด   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน  หรือปรับไม่เกิน      หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ปรับปรุงถ้อยคำเกี่ยวกับการระวางโทษเพื่อให้เป็นไปตามลำดับของโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18    ที่กำหนดให้ลำดับโทษจำคุกมาก่อนโทษปรับ    

 

 

         มาตรา 39  ผู้ใดทำการชลประทานส่วนการค้าโดยมิได้รับสัมปทาน  ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ

         มาตรา 39  ผู้ใดทำการชลประทานส่วนการค้าโดยมิได้รับสัมปทาน  ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน     สามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ได้แก้ไขโทษปรับจาก “ ไม่เกินหนึ่งพันบาท ”  เป็น               “ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ” เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน  และปรับปรุงถ้อยคำเกี่ยวกับการระวางโทษเพื่อให้

เป็นไปตามลำดับของโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18  ที่กำหนดให้ลำดับโทษจำคุกมาก่อนโทษปรับ

 

         มาตรา 40  ผู้ใดไม่ขอรับสัมปทานภายในกำหนดเวลาดังกล่าวไว้ในมาตรา 37  ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษ  ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท  หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน                   หรือทั้งปรับทั้งจำ    

         มาตรา 40  ผู้ใดไม่ขอรับสัมปทานภายในกำหนดเวลาดังกล่าวไว้ในมาตรา 37  ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษ

จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน  หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท               หรือทั้งจำทั้งปรับ     

ได้แก้ไขโทษปรับจาก “ ไม่เกินห้าร้อยบาท  ”  เป็น               “ ไม่เกินหนึ่งพันบาท ” เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน  และปรับปรุงถ้อยคำเกี่ยวกับการระวางโทษ

เพื่อให้เป็นไปตามลำดับของโทษตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 18  ที่กำหนดให้ลำดับโทษจำคุกมาก่อน                โทษปรับ        

                          

         มาตรา 41  ผู้ได้รับสัมปทานทำการชลประทานส่วนการค้าไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามความในมาตรา 34                   มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท  หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ     

         มาตรา 41  ผู้ได้รับสัมปทานทำการชลประทานส่วนการค้าไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามความในมาตรา 34               มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน                     หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ    

ได้แก้ไขโทษปรับจาก “ ไม่เกินห้าร้อยบาท  ”  เป็น               “ ไม่เกินหนึ่งพันบาท ” เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน  และปรับปรุงถ้อยคำเกี่ยวกับการระวางโทษ  เพื่อให้เป็นไปตามลำดับของโทษตามประมวลกฎหมาย 

   

         มาตรา 42  ผู้ใดกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้ นอกจากจะได้รับโทษตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตราอื่นแล้ว ศาลมีอำนาจสั่งบังคับให้รื้อถอน ทำลาย หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ได้กระทำไปนั้นได้อีกโสดหนึ่ง

        มาตรา 42  ผู้ใดกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้ นอกจากจะได้รับโทษตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตราอื่นแล้ว ศาลมีอำนาจสั่งบังคับ  ให้รื้อถอน ทำลาย หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ได้กระทำไปนั้นได้อีกด้วย

ปรับถ้อยคำให้เป็นปัจจุบัน

หมวด  5

การรักษาพระราชบัญญัติ

         มาตรา 43  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กับให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ควบคุม

การชลประทาน เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

         กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด  5

การรักษาพระราชบัญญัติ

 

 

 

 

ยกเลิกหมวด 5 โดยได้นำมาตรา 43  ปรับแก้เป็น                  มาตรา 4 ทวิ  เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบร่างกฎหมาย                   ปัจจุบัน 

 

 

 

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

  พิบูลสงคราม

นายกรัฐมนตรี

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

………………………………………

นายกรัฐมนตรี

 

 


กลับหน้าหลัก การปรับปรุง แก้ไขกฎหมายฯ